เส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอดคืออะไร

เส้นเลือดขอด คือความปกติของหลอดเลือดดำที่หลอดเลือดหรือเส้นเลือดนั้นเกิดการบิด หรือขดตัวและขยายใหญ่ขึ้น โดยมักจะเกิดขึ้นกับหลอดเลือดดำตื้นๆ บริเวณผิวหนังที่ขาที่เกิดจาก การยืนและเดินมาก ๆ ที่มีการเพิ่มแรงกดดันในเส้นเลือดของร่างกายส่วนล่าง

อาการของเส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอดอาจไม่ส่งผลให้เกิดอาการปวดใด ๆ ในบางคน แต่บางคนก็อาจจะมีอาการปวดตึงได้เช่นกัน สัญญาณที่บอกว่าอาจมีเส้นเลือดขอด ได้แก่:
เส้นเลือดที่มีสีม่วงเข้มหรือสีน้ำเงิน
เส้นเลือดที่ขดและโป่งพอง
รู้สึกเจ็บหรือหนักที่ขา
ปวดกล้ามเนื้อ และบวมที่ขาท่อนล่าง
อาการปวดแย่ลงหลังจากนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน
อาการคันรอบเส้นเลือด
สีผิวรอบเส้นเลือดขอดเปลี่ยนไป
หลอดเลือดดำแมงมุมมีลักษณะคล้ายกับเส้นเลือดขอด แต่มีขนาดเล็กกว่าเนื่องจากเป็นเส้นเลือดฝอย มักเป็นสีแดงหรือสีน้ำเงิน
หลอดเลือดดำแมงมุมโดยทั่วไปเกิดขึ้นที่ขา แต่สามารถพบได้ที่ใบหน้า และมีขนาดต่างกันและและจะดูเหมือนใยแมงมุม

สาเหตุของเส้นเลือดขอด

ลิ้นหัวใจที่อ่อนแอ หรือเสียหายสามารถนำไปสู่ปัญหาเส้นเลือดขอดได้ หลอดเลือดแดงนำเลือดจากหัวใจไปยังเนื้อเยื่อที่เหลือ และเส้นเลือดจะส่งเลือดจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายกลับไปยังหัวใจ เพื่อให้สามารถหมุนเวียนเลือดได้ ในการส่งเลือดกลับไปยังหัวใจ เส้นเลือดที่ขาจะต้องทำงานสู้กับแรงโน้มถ่วง

การหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณขาท่อนล่างทำหน้าที่เป็นปั๊ม และผนังหลอดเลือดดำที่ยืดหยุ่นช่วยให้เลือดไหลย้อนกลับไปยังหัวใจ ในขณะลิ้นหัวใจเล็กๆ จะเปิดออกเมื่อเลือดไหลไปยังหัวใจ จากนั้นจะปิดลง เพื่อหยุดเลือดไม่ให้ไหลย้อนกลับ หากลิ้นหัวใจเหล่านี้อ่อนแอ หรือเสียหาย เลือดสามารถไหลย้อนกลับ และเกิดการสะสมในเส้นเลือด ส่งผลให้เส้นเลือดยืดออก หรือบิดได้

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

การดูแลตนเองเบื้องต้น เช่น การออกกำลังกาย การยกขาสูง หรือการสวมถุงน่องแบบพิเศษ จะสามารถลดความเจ็บปวดที่เกิดจากเส้นเลือดขอดและอาจป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงได้ แต่ในบางกรณีที่มีอาการหนักหรือกังวลเรื่องความสวยงามอาจจะไปพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดขอด

ปัจจัยเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดขอด:
อายุ ความเสี่ยงของเส้นเลือดขอดเพิ่มขึ้นตามอายุ
เพศ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นเส้นเลือดได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนก่อนมีประจำเดือนหรือระหว่างตั้งครรภ์หรือวัยหมดประจำเดือนอาจเป็นปัจจัย
การตั้งครรภ์ ในระหว่างตั้งครรภ์ ปริมาณเลือดในร่างกายจะเพิ่มขึ้น
ประวัติครอบครัว หากสมาชิกในครอบครัวคนอื่นมีเส้นเลือดขอด คุณก็มีโอกาสมากขึ้นเช่นกัน
โรคอ้วน การมีน้ำหนักเกินจะเพิ่มแรงกดดันต่อเส้นเลือด
การยืนหรือนั่งเป็นเวลานานๆ เลือดจะไม่ไหลเวียน หากเราต้องอยู่ในตำแหน่งเดิมเป็นเวลานาน

การป้องกันเส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอดนั้นไม่มีทางที่จะป้องกันให้เกิดขึ้นได้เลยซะทั้งหมด แต่การปรับปรุงระบบไหลเวียนของโลหิตและกล้ามเนื้ออาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดขอดได้ และหมั่นดูแลและปรับปรุงการใช้ชีวิตดังนี้:
ออกกำลังกาย
คอยระวังควบคุมน้ำหนัก
รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เกลือต่ำ
หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูง
ยกขาขึ้นสูงเหนือหัวใจบ้างเป็นบางครั้ง
เปลี่ยนท่านั่งหรือยืนเป็นประจำ

การวินิจฉัย

ในการวินิจฉัยเส้นเลือดขอด แพทย์จะทำการตรวจร่างกายขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในท่ายืนเพื่อตรวจหาอาการบวมของเส้นเลือด และผู้ป่วยจะต้องแจ้งอาการเบื้องต้นให้แพทย์ทราบ
บางครั้งอาจจำเป็นต้องตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อดูว่าเส้นเลือด ทำงานได้ตามปกติหรือไม่ หรือตรวจสอบว่ามีการเกิดลิ่มเลือดใด ๆ โดยจะตรวจจากอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (ตัวแปลงสัญญาณ) ที่มีขนาดเท่ากับสบู่ก้อนหนึ่ง โดยแตะผิวหนังเหนือบริเวณที่เกิดปัญหา ตัวแปลงสัญญาณจะส่งภาพเส้นเลือดที่ขาไปยังจอภาพ เพื่อที่แพทย์จะสามารถทำการวินิจฉัยได้

การรักษาเส้นเลือดขอด

การรักษาเส้นเลือดขอดไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานในการพักฟื้นหรือรักษาตัวในโรงพยาบาล และขั้นตอนก็ง่ายดาย
การฉีดสารเข้าเส้นเลือดขอด การรักษาแบบนี้จะใช้กับเส้นเลือดขอดขนาดเล็กและปานกลางโดยเส้นเลือดแต่ละเส้นจะถูกฉีดสารเข้าไปให้อาการทุเลาลง โดยจะไม่เกิดความเจ็บปวดในการทำหัตถการนี้
การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ การผ่าตัดด้วยเลเซอร์เป็นอีกเทคโนโลยีที่ทางการแพทย์แนะนำ
การผูกและดึงหลอดเลือด การผูกหลอดเลือดและทำการผ่าตัดหลอดเลือดที่ผูกไว้ จะช่วยลดอาการเส้นเลือดขอดได้และผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล
การผ่าตัดส่องกล้อง ใช้ในกรณีที่มีอาการรุนแรงและเกิดการอักเสบ หรือเมื่อใช้วิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดโดยนำกล้องขนาดเล็กใส่เข้าไปเพื่อช่วยให้สามารถมองเห็นเส้นเลือดขอดและทำการผ่าตัด
การฉีดสารผสมโฟมเข้าหลอดเลือดที่ขอด จะเลือกใช้กับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดใหญ่
การผ่าตัดด้วยการเจาะ ใช้สำหรับเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก ทำได้โดยการเจาะรูขนาดเล็กผ่านผิวหนังเพื่อดึงเส้นเลือดขอดออกมา

การดูแลตนเอง

การดูแลตนเอง เช่น การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก ไม่สวมเสื้อผ้าคับ ยกขาขึ้นสูงเหนือหัวใจบ้างเมื่อมีโอกาศ หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน สามารถบรรเทาอาการปวดและป้องกันไม่ให้เส้นเลือดขอดแย่ลงได้

การใช้ถุงน่องแบบพิเศษ

โดยทั่วไปแล้วแพทย์มักจะแนะนำการการสวมถุงน่องแบบรัดรูปตลอดให้ผู้ป่วยได้ลองทำก่อนการรักษาอื่น ๆ
โดยผู้ป่วยสามารถหาซื้อถุงน่องนี้ได้ตามร้านขายยาและร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์

สิ่งที่คาดหวังจากแพทย์

แพทย์อาจมีคำถาม หลายข้อ ได้แก่ :
คุณสังเกตเห็นเส้นเลือดขอดเมื่อไหร่?
มีอาการปวดไหม? อาการปวดรุนแรงแค่ไหน?
มีอะไรที่ทำให้อาการแย่ลงหรือไม่?
มีอะไรที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือไม่?
ก่อนการนัดหมาย ผู้ป่วยสามารถเริ่มดูแลตัวเองได้ พยายามอย่ายืนหรือนั่งในท่าเดียวเป็นเวลานาน ออกกำลังกายพอเหมาะ